การจัดซื้ออะไหล่เครื่องจักร(Purchasing spare parts in maintenance.)

การควบคุมอะไหล่หรือ Spare Parts Control ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้เหตุการณ์เครื่องจักรเสียที่รู้สาเหตุและวิธีแก้ไขต้องล้าช้าออกไปเนื่องจากไม่มีอะไหล่ที่จะนำมาใช้ได้ทันที เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ก็เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่มาจากการควบคุมอะไหล่ โดยมีเป้าหมายการทำ Spare Parts Control คือ

  • ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานและความน่าเชื่อถือ (Efficiency and Reliability) ของเครื่องจักรอุปกรณ์ ผ่านกระบวนการ จัดซื้อ จัดจ้าง และจัดเก็บ ที่มีประสิทธิภาพ
  • สร้างความมั่นใจให้กับงาน Breakdown Maintenance และงาน Preventive Maintenance ว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้องการใช้อะไหล่เพื่อการซ่อม หรือเพื่อการบำรุงรักษา ต้องหาได้ในทันทีหรือใช้เวลาน้อยที่สุด
  • ลดจำนวนอะไหล่คงคลังหรือ Spare Parts Inventory ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนจม เพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บ และเพื่อลดพื้นที่ในการจัดเก็บ

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อลดต้นทุนสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่ อุปกรณ์ (Spare parts)
  2. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) อย่างได้ผล 
  3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness) ได้จากการเพิ่มเวลาการผลิตของเครื่องจักรด้วยการซ่อมบำรุงได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
  4. เพื่อลดเวลาความสูญเสีย (Losses time) ที่เกิดจากเวลาการหยุดของเครื่องจักรที่ยาวนาน (Machine Break-down or Downtime)
  5. เพื่อลดความสูญเปล่า (Wastes) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ด้วยการลดเวลาที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าระหว่างการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  6. เพื่อลดของเสีย (Defects) ที่เกิดขึ้นก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  7. เพื่อสามารถวางแผนการจัดซื้อ จัดหา วัสดุ อุปกรณ์ได้อย่างทันเวลาพอดี (Just in time Purchasing)
  8. เพื่อให้มีปริมาณวัสดุเผื่อฉุกเฉิน (Safety Stock spare parts) ที่ต่ำอย่างเหมาะสม
  9. เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ตามปริมาณและเวลาที่ลูกค้ากำหนดได้อย่างต่อเนื่อง
  10. เพื่อลดเวลาการผลิต (Production cycle time) เพิ่มกำลังการผลิต (Capacity) และเพิ่มกำไร (Profit) ให้สถานประกอบการได้
Visitors: 175,984